ต่อมหมวกไตล้าคืออะไร มีอาการแบบไหนบ้าง?

ต่อมหมวกไตล้า

ต่อมหมวกไต คืออวัยวะที่อยู่บริเวณด้านบนของไตทั้งสองข้าง มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล ฮอร์โมนดีเอชอีเอ ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน ฮอร์โมนแอนโดรเจน เป็นต้น ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกาย หากต่อมหมวกไตเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลเสียต่อทั้งร่างกายและอารมณ์ของบุคคลนั้น ๆ

ภาวะต่อมหมวกไตล้า คือภาวะที่สามารถเกิดได้กับทุกคน โดยเฉพาะคนที่สะสมความเครียดมาเป็นเวลานาน มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว หรือได้รับสารสเตียรอยด์ต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลานาน ก็สามารถทำให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน

ฮอร์โมนหลักที่เกี่ยวข้องกับต่อมหมวกไต

  1. ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนหลักที่เกี่ยวข้องกับความเครียดโดยตรงซึ่งร่างกายจะผลิตปริมาณมากในตอนเช้าซึ่งช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นทำให้รู้สึกสดชื่อกระปรี้กระเปร่า มีแรงสำหรับเริ่มต้นวันใหม่แต่เมื่อตกเย็นฮอร์โมนตัวนี้จะลดลงเหลือเพียง 10% เท่านั้น และหากเมื่อเจอเหตุการณ์ขับคัน ฮอร์โมนนี้จะทำให้มีความดันโลหิตสูงขึ้น เพื่อพร้อมเผชิญกับปัญหาที่กำลังจะตามมา แต่หากเรามีความเครียดสะสมอยู่ทุกวัน และพักผ่อนนอนน้อยเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่สามารถลุกขึ้นจากเตียงในช่วงเช้าได้
  2. ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone) เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับสมดุลของธาตุโซเดียมและโปแตสเซียมในร่างกาย หรือก็คือช่วยควบคุมของเหลวในร่างกายของเรา หากเกิดภาวะต่อหมวกไตล้า จะทำให้ฮอร์โมนนี้ทำงานผิดปกติ และส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุล จนทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อยจนผิดปกติได้นั่นเอง
  3. ฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEA, Dehydroepiandosterone) เรียกได้ว่าเป็นฮอร์โมนตั้งต้นของทั้งฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย ทั้งยังเป็นฮอร์โมนต้านความเครียด ทำให้ร่างกายแข็งแรง ชะลอความเสื่อมของร่างกาย ทำให้มีความรู้สึกทางเพศมากขึ้น

อาการเสี่ยงของผู้ที่อาจจะมีภาวะต่อมหมวกไตล้า

  1. ตื่นนอนยาก นอนไม่ค่อยหลับ หากเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา แม้จะนอนมาหลายชั่วโมงหรืองีบหลับตอนกลางวันแล้วก็ตาม
  2. ประจำเดือนมาผิดปกติ มาน้อยเกินไป มามากเกินไป หรือมาแบบกระปิดกระปอย มาไม่ตรงกับเดือนก่อน มีอาการร้อนวูบวาบ ปวดท้องน้อย อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  3. ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ คือ ปัสสาวะมากกว่า 3-5 ครั้งต่อวัน เข้าห้องน้ำบ่อย ปวดปัสสาวะง่าย
  4. มีปัญหาเส้นผมและผิวหนัง เช่น ผมร่วง ผมบาง ผมแห้งเสีย ใต้ตาคล้ำ ผิวแห้งแพ้ง่าย เป็นต้น
  5. อยากกินของเค็ม หรือของหวาน ผู้ป่วยจะรู้สึกดีขึ้นทันที เมื่อได้กินของหวานหรืออาหารต่าง ๆ ที่มีแคลอรี่สูง เพราะร่างกายผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง จึงต้องการสารอาหารต่าง ๆ เข้าไปทดแทน
  6. ท้องอืด ท้องผูก อาหารไม่ย่อย มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ท้องอืดง่าย อาหารไม่ย่อย รู้สึกคลื่นไส้กินเยอะไม่ค่อยได้ ท้องผูกบ่อย อุจจาระลำบาก
  7. เบื่ออาหาร ไม่อยากกินข้าว ทำให้น้ำหนักลดลงมากกว่าปกติ จนคนอื่นสังเกตได้จากภายนอก
  8. ง่วงกลางวัน ตื่นกลางคืน เพราะภาวะต่อมหมวกไตล้าจะทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียในช่วงกลางวัน แต่พอหลังจาก 6 โมงเย็นเป็นต้นไป ร่างกายจะรู้สึกสดชื่นขึ้น สมองตื่นตัว สามารถทำงานและจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างว่องไว
  9. เจ็บป่วยง่าย ร่างกายอ่อนแอ เมื่อต่อมหมวกไตล้าจนไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีประสิทธิภาพต่ำลง ทำให้ไม่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้เท่าที่ควร จึงทำให้ป่วยง่าย ป่วยบ่อย และกว่าจะหายก็ใช้เวลารักษาค่อนข้างนานกว่าคนอื่น
  10. มีเรื่องเครียดกังวลใจอยู่เสมอ เนื่องจากภาวะต่อมหมวกไตล้าทำให้ระดับคอร์ติซอลต่ำลง จนไม่สามารถรับมือได้กับปัญหาหรือความเครียดได้เท่าที่ควรจะเป็น คือเครียดได้ง่ายแม้กับเรื่องเล็กน้อยก็ตาม
  11. มีปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิต อาจมีความดันโลหิตสูงหรือต่ำจากค่าปกติ ส่งผลให้มีอาการวิงเวียนศีรษะเวลาเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น จากนอนเป็นนั่ง จากนั่งเป็นยืน เป็นต้น

ทำอย่างไรเมื่อต่อมหมวกไตล้า

  1. ปรับเปลี่ยนเวลานอนให้เหมาะสม เข้านอนก่อน 5 ทุ่ม และนอนหลับให้ครบ 6-8 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ
  2. รับประทานมื้อเช้าก่อน 10.00น. เพราะหากรับประทานหลังจากนี้อาจจะทำให้อ่อนเพลียยิ่งขึ้น
  3. แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ หลาย ๆ มื้อ แทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่เพียง 1-2 มื้อ
  4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแปรรูป อาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และคาเฟอีนสูง
  5. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นโปรตีน ธัญพืช แป้งไม่ขัดสี ผักและผลไม้
  6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้อ่อนเพลียมากยิ่งขึ้น
  7. หาวิธีคลายเครียด เช่น หางานอดิเรกทำ จัดสรรเวลาพักผ่อน จัดทริปไปท่องเที่ยว เป็นต้น
  8. รับประทานอาหารเสริมหรือสมุนไพรที่มีประโยชน์และปลอดภัย จะช่วยให้ลดอาการต่อมหมวกไตล้าได้

การตรวจเช็คต่อมหมวกไตล้า

การตรวจเช็คในเบื้องต้นคือหมั่นสังเกตร่างกายและอารมณ์ตัวเองอยู่ตลอดเวลา ว่ารู้สึกแย่ลงหรือเปลี่ยนแปลงไปในทางลบหรือไม่ หากเริ่มสงสัยก็สามารถทำแบบทดสอบเพื่อตรวจดูว่าตัวเราเข้าข่ายป่วยเป็นภาวะต่อมหมวกไตล้าหรือไม่ เมื่อผลการประเมินออกมาว่าเข้าข่าย ก็จะมีการตรวจที่ละเอียดขึ้นในขั้นตอนต่อไป เช่น การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจด้วยคลื่นควอนตัมสแกน เป็นต้น บางคนไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ในภาวะนี้ ก็จะหันไปใช้เครื่องดื่มกระตุ้นสมองแทน เช่น กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น ซึ่งเป็นสารเสพติดอ่อน ๆ อย่างหนึ่ง หากรับประทานต่อเนื่องในระยะยาว ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าเดิม ทางที่ดีคือเคารพเวลานาฬิกาชีวิต พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเท่าที่