โรคกระเพราะ เป็นอย่างไร รักษาแบบไหน?

โรคกระเพราะ

ใคร ๆ ต่างก็เคยได้ยินเกี่ยวกับโรคกระเพราะกันมาบ้างแล้ว ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก รบกวนการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ อาจทำให้รู้สึกแสบท้อง กินอาหารรสจัดหรือย่อยยากไม่ค่อยได้ ต้องกินอยู่บ่อย ๆ อาจจะต้องรับประทานยาลดกรดในกระเพาะ ซึ่งสร้างความลำบากให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

โดยโรคกระเพราะมักจะทำให้เกิดแผลที่บริเวณเยื่อบุในกระเพราะอาหาร เนื่องจากกรดในกระเพราะอาหารไปกัดเนื้อเยื่อบุกระเพราะอาหารนั่นเอง เรามาดูกันดีกว่าว่าโรคนี้เกิดจากอะไร อาการเป็นแบบไหน และรักษาได้อย่างไร

สาเหตุของโรคกระเพราะ

ซึ่งมักจะเกิดจากการที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา อดอาหาร รับประทานเร่งรีบมากเกินไป หรือรับประทานยาที่กัดกระเพราะอาหาร เช่น ยาแก้ปวดประเภทแอสไพริน ไอบูโพรเพน ยาที่ผสมสเตียรอยด์ ยารักษาโรคเกี่ยวกับไขข้อกระดูก เป็นต้น การรับประทานอาหารที่มีรสจัด ซึ่งทำให้ระคายเคืองต่อกระเพราะอาหาร เช่น พริก เป็นต้น ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน น้ำอัดลม สูบบุหรี่ มีความเครียด เกิดความวิตกกังวล นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ หงุดหงิด ซึมเศร้า รวมทั้งการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobactor Pylori) หรือการมีเนื้องอกในกระเพาะอาหาร ก็สามารถทำให้ป่วยเป็นโรคกระเพราะได้ทั้งนั้น

อาการของโรคกระเพราะ

  • ปวดท้อง แสบท้อง
  • อิ่มง่าย หิวบ่อย กินได้น้อยในแต่ละมื้อ
  • แน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือเหนือสะดือ
  • รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง หลังรับประทานอาหารเสร็จ
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว
  • คลื่นไส้ อาเจียน อาจจะอาเจียนเป็นเลือด

การตรวจวินิจฉัย

เมื่อมีอาการดังกล่าว ในเบื้องต้นให้ไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ ถามเกี่ยวกับอาการที่เป็นอยู่ และตรวจร่างกายโดยละเอียด อาจตรวจได้หลายวิธี เช่น การตรวจเลือด การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร การส่องกล้องเข้าไปในทางเดินอาหารส่วนต้น ซึ่งวิธีสุดท้ายเป็นการตรวจวินิจฉัยที่เหมาะสมที่สุดสำหรับโรคนี้

การรักษาโรคกระเพราะ

  • การรักษาด้วยยา เบื้องต้นแพทย์จะจ่ายยาลดกรดมาให้รับประทานก่อนอาหารประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง หรืออาจสั่งยากระตุ้นการบีบตัวของกระเพราะอาหาร หากติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์ก็จะสั่งยาฆ่าเชื้อมาให้รับประทาน หรือหากสาเหตุเกิดจากการใช้ยาบางชนิด แพทย์ก็จะสั่งให้หยุดรับประทานยาตัวนั้นทันที
  • การรักษาโดยไม่ใช่ยา หากมีอาการไม่มาก แพทย์อาจจะให้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและการรับประทานอาหาร แต่หากอาการหนัก อาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หรืออาจจะต้องผ่าเนื้องอกในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการป่วยเป็นโรคนี้นั่นเอง

วิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น

  • รับประทานอาหารให้ตรงต่อเวลาในทุก ๆ มื้อ
  • รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย
  • ไม่ควรรับประทานอาหารปริมาณที่มากเกินไปในแต่ละมื้อ
  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
  • ไม่ควรอดอาหาร หรือปล่อยให้ท้องว่างนานเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด ของมัน ของทอด
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนเป็นส่วนผสม น้ำอัดลม
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่กัดกระเพราะ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เลี้ยงสัตว์ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร ทำสมาธิ เป็นต้น

แม้ว่าโรคกระเพราะจะเป็นโรคที่รบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่หากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน ก็สามารถป้องกันและแก้ไขอาการของโรคกระเพราะได้เช่นกัน แต่หากมีอาการหนักจนเกินไป เกิดแผลในกระเพราะอาหาร กระเพราะทะลุ อาเจียนเป็นเลือด ปวดท้องจนทนไม่ไหว ต้องไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธีนั่นเอง