โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นอย่างไร รักษาแบบไหน?

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แค่ชื่อโรคก็ฟังดูน่ากลัวกันแล้วใช่ไหมคะ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนเป็นโรคนี้กันมากมาย ยิ่งในยุคปัจจุบันที่มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ มักจะทำงานในออฟฟิศ นั่งหน้าคอมพิวเตอร์แทบทั้งวัน โดยบางคนอาจจะไม่ค่อยขยับเขยื้อนตัวไปไหนเลย มัวแต่คร่ำเคร่งกับงานจนมากเกินไป จนลืมผ่อนคลายร่างกายตัวเอง ซึ่งนอกจากจะเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอีกด้วย ซึ่งความจริงโรคนี้ก็เป็นหนึ่งในโรคของออฟฟิศซินโดรมนั่นเอง

อาการของโรค

โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดสะโพก ปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยช่วงแรกอาจจะเป็น ๆ หาย ๆ ก่อน และเริ่มกลายเป็นปวดเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะชะล้าใจ ยังไม่ไปพบแพทย์ อาการของโรคจึงเข้าสู่ระยะต่อไป ซึ่งก็คือระยะปานกลาง โดยจะมีอาการปวดร้าวจากคอลงไปถึงแขน หรือปวดร้าวลงขาได้เช่นกัน ทำให้เวลาจะลุกจะนั่งหรือเดินจะเกิดอาการเจ็บปวด รวมทั้งอาจมีอาการมือเท้าชาร่วมด้วยได้เช่นกัน เนื่องมาจากเริ่มมีการเคลื่อนที่ของหมอนรองกระดูก ปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาท ซึ่งต้องไปพบแพทย์โดยด่วน แต่หากบางคนปล่อยไว้ ยังไม่ยอมไปพบหมออีก ก็จะเข้าสู่ระยะสุดท้าย คือระยะรุนแรง โดยผู้ป่วยเริ่มจะมีอาการสาหัส ปวดรุนแรง อาจมีอาการชาร่วมด้วย มีอาการอ่อนแรง บางคนอาจจะถึงขึ้นเดินไม่ได้เลยก็มี ซึ่งเสี่ยงนำไปสู่ภาวะพิการได้ จึงต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาด้วยการผ่าตัดโดยด่วน ก็จะทำให้ผู้ป่วยรอดพ้นภาวะพิการไปได้อย่างทันท่วงที

วิธีการรักษา

สำหรับโรคนี้มีวิธีการรักษาหลายแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรคที่ผู้ป่วยกำลังประสบพบเจออยู่ โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อให้การรักษาเป็นไปในทิศทางที่ดี และเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละคนนั่นเอง แต่โดยส่วนใหญ่มักจะใช้การรักษาหลาย ๆ วิธีร่วมกัน โดยหลัก ๆ แล้วจะมีวิธีการรักษาอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ

รับประทานยา : สำหรับวิธีการนี้นับว่าเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกต่อคนไข้มากที่สุด ด้วยการรับประทานยาที่มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบ และคลายกล้ามเนื้อ โดยผู้ป่วยต้องรับประทานยาให้ตรงเวลาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ ก็จะส่งผลให้อาการปวดดีขึ้นตามลำดับ

กายภาพบำบัด : วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง เพราะผู้ป่วยสามารถจำท่าทำภายภาพบำบัดไปฝึกทำเองที่บ้านได้ หรือบางรายอาจจะมีการใช้เครื่องออกกำลังกายเฉพาะร่วมด้วยก็มี ซึ่งอาจจะต้องไปกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลตามกำหนดเป็นระยะ ๆ แต่วิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยในระยะแรกเริ่มมากกว่า เพราะกระดูกยังสามารถเคลื่อนกลับเข้าไปที่เดิมได้ เมื่อเราทำกายภาพบำบัดเป็นประจำและต่อเนื่อง

เข้ารับการผ่าตัด : สำหรับวิธีสุดท้าย เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เริ่มมีปัญหาในการขับถ่าย หรือมีอาการปวดจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ คือไม่สามารถเดินหรือนั่งได้อย่างสะดวกนั่นเอง เพราะทุกครั้งที่ขยับตัวจะรู้สึกปวดร้าวไปตามต้นคอ หลัง สะโพก และขา สาเหตุอันเนื่องมากจากกระดูกไม่สามารถเคลื่อนที่กลับเข้าไปได้เอง แม้ว่าจะทำภายภาพบำบัดแล้วก็ตาม จึงต้องใช้วิธีการผ่าตัดเข้าช่วย ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีเกี่ยวกับการแพทย์ได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ทำให้การผ่าตัดนั้น สูญเสียเลือดค่อนข้างน้อย แผลมีขนาดเล็กลง ช่วยลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ สามารถฟื้นฟูร่างกายได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งลดอาการภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างและหลังการผ่าตัดลงได้

รู้จักกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทกับไปแล้ว แม้จะเป็นโรคที่ดูน่ากลัว แต่ก็มีวิธีป้องกันเช่นกัน นั่นก็คือ การจัดท่านั่งระหว่างทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องและเหมาะสม ไหล่ไม่ตก หน้าไม่ยื่นไปข้างหน้า หลังพิงผนักเก้าอี้ ยืดตัวตรง และควรมีการยืดเส้นยืดสาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อระหว่างทำงานด้วย หรืออาจขยับตัวหรือเปลี่ยนท่าทาง เปลี่ยนอิริยาบถ เดินไปดื่มน้ำ เข้าห้องน้ำ หรือสูดอากาศข้างนอกบ้าง และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะช่วยทำให้เราห่างไกลจากโรคนี้ได้มากขึ้นแล้วค่ะ